การลดความร้อนของน้ำในตู้ปลา
โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
www.facebook.com/FinChompla
ความร้อนของน้ำนอกจากทำให้ออกซิเจนต่ำแล้ว ยังทำให้การบูดเน่าของของเสียต่าง ๆ ทั้งอาหารและขี้ปลาเกิดขึ้นรวดเร็ว จะสังเกตได้ชัดว่าตู้ปลาที่มีการให้อาหารมากน้ำจะขุ่นและมีกลิ่นเหม็นทั้งที่มีระบบกรอง และการย่อยสลายของเสียโดยแบคทีเรียภายในตู้เกิดขึ้นมากและเร็ว อัตราการใช้ออกซิเจนก็สูงขึ้นอีกเป็นเงาตามตัว เมื่อน้ำเสียเร็ว ออกซิเจนน้อย แบคทีเรียมาแย่งอากาศปลา และความร้อนที่มากเกินกว่าธรรมชาติของตัวปลาจะรับไหว ผลก็คือปลาตาย ซึ่งอาจทยอยตายทีละตัวสองตัว หรือแม้กระทั่งตายยกตู้พร้อม ๆ กันก็มีให้เห็นบ่อยครั้งในช่วงนี้
ลองสำรวจตู้ปลาที่บ้านว่าอุณหภูมิของน้ำในตู้เป็นอย่างไรกันบ้าง วิธีง่ายที่สุดคือใช้เทอร์โมมิเตอร์ การใช้คือแช่แท่งเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้ แล้วดูปรอทว่าอยู่ในระดับเท่าไหร่ หากสูงเกิน 31 องศาเซลเซียส ก็แสดงว่าเริ่มจะร้อนแล้ว แต่ยังพอทน ถ้าพุ่งทะลุขึ้นไป 33-34 หรือมากกว่านั้น ต้องรีบหาวิธีลดความร้อนในตู้โดยด่วน อย่ารอให้เกิดปัญหาปลาตายเสียก่อน
วิธีลดความร้อนของน้ำในตู้ปลา
1 หากเป็นตู้มีฝาปิด ควรยกฝาออก หรือแง้มให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ความร้อนลอยตัว อากาศมีการระบายถ่ายเท (หากกลัวปลากระโดดอาจหาตาข่ายหรืออะไรที่ใช้แทนกันมาปิดคลุม)
2 ใช้พัดลมเป่าเข้าที่ตู้ปลาโดยตรง หรือจะให้ดีกว่านั้นอาจลงทุนซื้อพัดลมขนาดเล็กที่ออกแบบสำหรับติดตั้งในตู้ปลา จะช่วยลดอุณหภูมิได้ถึง 2-3 องศาเซลเซียส
3 เพิ่มอากาศลงในตู้โดยใช้ปั๊มลมและหัวทราย ออกซิเจนในปริมาณมากจะช่วยลดแอมโมเนียในน้ำ และทำให้การย่อยสลายของเสียของแบคทีเรียทำงานได้มีประสิทธิภาพโดยไม่ไปแย่งออกซิเจนกับปลา
4 ปิดไฟส่องสว่าง อย่าลืมว่าความร้อนจากหลอดไฟก็ช่วยเพิ่มอุณหภูมิในน้ำได้เช่นกัน
เมื่อความร้อนลดลงบ้างแล้วก็อย่าเพิ่งวางใจ ควรดูแลเอาใจใส่ในเรื่องในต่อไปนี้เพื่อให้ปลาที่เลี้ยงมีสุขภาพดี แข็งแรง นั่นคือ
1 หากเลี้ยงปลาหนาแน่น ควรแบ่งเบาออกไปบ้าง
2 ลดปริมาณอาหารสำหรับคนที่ชอบให้อาหารปลาวันละหลาย ๆ มื้อ
3 ระวังอาหารที่ทำให้น้ำเน่าเสียง่าย เช่นอาหารสด หรืออาหารสำเร็จรูปที่ปลากินเหลือ
4 หากมีปลาป่วยควรแยกออกทันที และควรมีตู้ว่างต่างหากสำหรับแยกรักษาปลา (ตู้พยาบาล อย่างที่เคยพูดถึงหลายครั้งหลายหน)
5 สำหรับผู้ที่ชอบเติมน้ำยาต่าง ๆ หลังเปลี่ยนถ่ายน้ำ ไม่ว่าจะมาลาไคท์กรีน ยาลดคลอรีน หรือยาปรับน้ำใส ให้หยุดไว้ก่อน (เลิกใส่ได้เลยยิ่งดี) เพราะจะเป็นการทำลายระบบนิเวศในตู้ปลา หากเกรงว่าน้ำจะมีคลอรีนให้ใช้น้ำประปาที่เปิดพักไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง หรือใช้เครื่องกรองน้ำ
6 เปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย ๆ ในปริมาณ 20% น้ำใหม่จะช่วยเจือจางไนไตรท์และไนเตรทในน้ำ ช่วยให้ปลาสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่น้ำที่เติมเข้าไปใหม่ต้องระวังเรื่องของความต่างอุณหภูมิ จะให้ดีควรนำน้ำนั้นมาพักไว้ก่อน จนน้ำอุณหภูมิเท่ากันค่อยเติม
โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
www.facebook.com/FinChompla
ความร้อนของน้ำนอกจากทำให้ออกซิเจนต่ำแล้ว ยังทำให้การบูดเน่าของของเสียต่าง ๆ ทั้งอาหารและขี้ปลาเกิดขึ้นรวดเร็ว จะสังเกตได้ชัดว่าตู้ปลาที่มีการให้อาหารมากน้ำจะขุ่นและมีกลิ่นเหม็นทั้งที่มีระบบกรอง และการย่อยสลายของเสียโดยแบคทีเรียภายในตู้เกิดขึ้นมากและเร็ว อัตราการใช้ออกซิเจนก็สูงขึ้นอีกเป็นเงาตามตัว เมื่อน้ำเสียเร็ว ออกซิเจนน้อย แบคทีเรียมาแย่งอากาศปลา และความร้อนที่มากเกินกว่าธรรมชาติของตัวปลาจะรับไหว ผลก็คือปลาตาย ซึ่งอาจทยอยตายทีละตัวสองตัว หรือแม้กระทั่งตายยกตู้พร้อม ๆ กันก็มีให้เห็นบ่อยครั้งในช่วงนี้
ลองสำรวจตู้ปลาที่บ้านว่าอุณหภูมิของน้ำในตู้เป็นอย่างไรกันบ้าง วิธีง่ายที่สุดคือใช้เทอร์โมมิเตอร์ การใช้คือแช่แท่งเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้ แล้วดูปรอทว่าอยู่ในระดับเท่าไหร่ หากสูงเกิน 31 องศาเซลเซียส ก็แสดงว่าเริ่มจะร้อนแล้ว แต่ยังพอทน ถ้าพุ่งทะลุขึ้นไป 33-34 หรือมากกว่านั้น ต้องรีบหาวิธีลดความร้อนในตู้โดยด่วน อย่ารอให้เกิดปัญหาปลาตายเสียก่อน
วิธีลดความร้อนของน้ำในตู้ปลา
1 หากเป็นตู้มีฝาปิด ควรยกฝาออก หรือแง้มให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ความร้อนลอยตัว อากาศมีการระบายถ่ายเท (หากกลัวปลากระโดดอาจหาตาข่ายหรืออะไรที่ใช้แทนกันมาปิดคลุม)
2 ใช้พัดลมเป่าเข้าที่ตู้ปลาโดยตรง หรือจะให้ดีกว่านั้นอาจลงทุนซื้อพัดลมขนาดเล็กที่ออกแบบสำหรับติดตั้งในตู้ปลา จะช่วยลดอุณหภูมิได้ถึง 2-3 องศาเซลเซียส
3 เพิ่มอากาศลงในตู้โดยใช้ปั๊มลมและหัวทราย ออกซิเจนในปริมาณมากจะช่วยลดแอมโมเนียในน้ำ และทำให้การย่อยสลายของเสียของแบคทีเรียทำงานได้มีประสิทธิภาพโดยไม่ไปแย่งออกซิเจนกับปลา
4 ปิดไฟส่องสว่าง อย่าลืมว่าความร้อนจากหลอดไฟก็ช่วยเพิ่มอุณหภูมิในน้ำได้เช่นกัน
เมื่อความร้อนลดลงบ้างแล้วก็อย่าเพิ่งวางใจ ควรดูแลเอาใจใส่ในเรื่องในต่อไปนี้เพื่อให้ปลาที่เลี้ยงมีสุขภาพดี แข็งแรง นั่นคือ
1 หากเลี้ยงปลาหนาแน่น ควรแบ่งเบาออกไปบ้าง
2 ลดปริมาณอาหารสำหรับคนที่ชอบให้อาหารปลาวันละหลาย ๆ มื้อ
3 ระวังอาหารที่ทำให้น้ำเน่าเสียง่าย เช่นอาหารสด หรืออาหารสำเร็จรูปที่ปลากินเหลือ
4 หากมีปลาป่วยควรแยกออกทันที และควรมีตู้ว่างต่างหากสำหรับแยกรักษาปลา (ตู้พยาบาล อย่างที่เคยพูดถึงหลายครั้งหลายหน)
5 สำหรับผู้ที่ชอบเติมน้ำยาต่าง ๆ หลังเปลี่ยนถ่ายน้ำ ไม่ว่าจะมาลาไคท์กรีน ยาลดคลอรีน หรือยาปรับน้ำใส ให้หยุดไว้ก่อน (เลิกใส่ได้เลยยิ่งดี) เพราะจะเป็นการทำลายระบบนิเวศในตู้ปลา หากเกรงว่าน้ำจะมีคลอรีนให้ใช้น้ำประปาที่เปิดพักไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง หรือใช้เครื่องกรองน้ำ
6 เปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย ๆ ในปริมาณ 20% น้ำใหม่จะช่วยเจือจางไนไตรท์และไนเตรทในน้ำ ช่วยให้ปลาสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่น้ำที่เติมเข้าไปใหม่ต้องระวังเรื่องของความต่างอุณหภูมิ จะให้ดีควรนำน้ำนั้นมาพักไว้ก่อน จนน้ำอุณหภูมิเท่ากันค่อยเติม